ผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ

 

สัปดาห์นี้กลับมาพบกันด้วยความชุ่มฉ่ำ ท่ามกลางวันสงกรานต์ ซึ่งปีนี้วันหยุดของเทศกาลสงกรานต์อยู่คาบเกี่ยวกับวันหยุดชดเชยที่ 6 เมษายนเนื่องในวันจักรี ทำให้หลายๆ ท่านวางแผนหยุดยาวตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน ไปจนถึงวันที่ 17 เมษายน รวมวันหยุด 12 วัน ก็ถือว่าได้หยุดกันอย่างจุใจกันเลยทีเดียว สำหรับคนทำงานที่วางแผนไว้และได้หยุด แต่สำหรับท่านที่เป็นผู้ประกอบการคงไม่ชอบใจนัก สำหรับการหยุดยาวต่อเนื่องกันขนาดนี้ เพราะทุกๆ 1 วันที่หยุด นั่นหมายถึง การหายไปของช่วงเวลาทำมาหากิน ขณะที่วันสิ้นเดือนที่ต้องจ่ายเงินเดือนก็ถูกย่นระยะเวลาเข้ามาอีก

ซ้ายสุดขอบก็ไม่ดี ขวาสุดซอยก็ไม่สวย การอยู่บนพื้นที่ตรงกลาง ทิ้งอะไรที่มันเกินพอดี จึงดีที่สุด

ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว ผมก็อยากบอกว่าไม่ใช่แค่เรื่องนี้เท่านั้น แต่หลักทางสายกลางนี้สามารถเอามาใช้ได้กับทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องปัจจุบันที่มันคาราคาซังในสังคม ทำให้ประเทศเดินหน้าไปต่อไม่ได้ ในฐานะคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางสังคม ได้พบเห็นและต้องเข้าไปอยู่ระหว่างช่องว่างของคนทั้ง 2 ยุคอยู่บ่อยๆ รวมถึงการเป็นนักลงทุนตัวเล็กๆ ภายในประเทศ ก็ได้แต่ละเหี่ยใจกับสถานการณ์บ้านเมืองตอนนี้ ไม่ต่างจากดูเด็กสองคนแย่งของเล่นกัน แต่เป็นของเล่นที่มีเดิมพันเป็นอนาคตประเทศไทย

หลายท่านๆ คงเริ่มเดินทางกลับกันตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 11 เมษายน โดยเฉพาะท่านที่เป็นพนักงานราชการ ส่วนพนักงานบริษัทเอกชนทั้งหลายคงเริ่มทยอยออกตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 12 เมษายน ช่วงเวลาการเดินทางที่เหลื่อมกันนี้ ประกอบกับวันหยุดยาวต่อเนื่อง ก็ทำให้พอจะประเมินได้ว่าความโกลาหลของการจราจรบนท้องถนนคงน้อยลงกว่าทุกปี แต่ประเด็นอยู่ที่วันเปิดทำงานที่ส่วนใหญ่จะเปิดพร้อมๆ กันในวันที่ 17 เมษายน ดังนั้นจึงขอแนะนำท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านว่าควรเริ่มทยอยกลับกันตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะช่วงวันที่ 16 เมษายนผมเชื่อเหลือเกินว่าตั้งแต่ช่วงเที่ยงเป็นต้นไปการจราจรบนท้องถนนสายหลักหลายๆ เส้นคงกลายเป็นอัมพาต

วันสงกรานต์ 13 -15 เมษายน มีวันที่สำคัญซ่อนอยู่ด้วยคือ วันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุของไทย และ วันที่ 14 เมษายนของทุกปีเป็นวันครอบครัว หลายๆ ครอบครัวใช้โอกาสนี้รวมญาติทำบุญบังสุกุลไปให้แก่บรรพชน และจัดเลี้ยงกัน เรียกง่ายๆ ก็คือ วันตรุษไทย นี่แหละ คล้ายๆ กันกับ วันตรุษจีน พอพูดถึงวันผู้สูงอายุก็ทำให้นึกสงสัยว่า ประวัติของวันนี้มีที่มาอย่างไร?

วันผู้สูงอายุเริ่มต้นจาก จอมพล ป.พิบูลสงคราม สั่งให้กรมประชาสงเคราะห์ จัดตั้งสถานสงเคราะห์บ้านบางแค หรือ บ้านพักคนชราบางแคขึ้นในปี พ.ศ.2496 เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หลังจากนั้นต่อมาทางการเห็นถึงความสำคัญของผู้สูงอายุมากขึ้น จึงได้ประกาศให้ วันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุของไทย ขณะที่องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคม เป็น “วันผู้สูงอายุสากล”

ประเด็นที่เราจะพูดถึงวันนี้คือ “ความเป็นอยู่หลังเกษียณของกลุ่มผู้สูงอายุ”

อ้างอิงจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยและผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. พบว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ในปี พ.ศ.2564 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด โดยที่ปี พ.ศ.2562 จะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุว่าน่ากลัวแล้ว แต่ยังมีเรื่องที่น่ากลัวกว่านั้นอีกนั่นคือ ผู้สูงอายุส่วนมากมีเงินออมและรายได้ไม่เพียงพอในการดำเนินชีวิตในวัยหลังเกษียณ นอกจากนี้คนไทยก่อนวัยสูงอายุมากกว่า 30% ไม่เห็นความสำคัญของการออมเพื่อวัยเกษียน ไม่ได้เตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพทั้งในแง่ความมั่นคงทางฐานะการเงิน และด้านสุขภาพ หรือง่ายๆ คือ ส่วนใหญ่ไม่มีเงินเก็บและยังมีโรคประจำตัวอีกด้วย เป็นไงล่ะครับ เงินก็ไม่มี สุขภาพก็ไม่ดี แล้วเขาเหล่านี้คาดหวังกับอะไรล่ะ?

คำตอบคือ “ภาครัฐ” … อ่านไม่ผิดหรอกครับ ภาครัฐ! (ดอกจัน 3 ตัวโตๆ)

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่หวังที่จะหันมาพึ่งพาภาครัฐมากขึ้น ในส่วนของสุขภาพก็คือการใช้ประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ ประกันสังคมของภาครัฐ ส่งผลให้แนวโน้มการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการของภาครัฐมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันผู้คนรุ่นใหม่ที่ลดลงก็ทำให้เงินที่จะสมทบเข้ามาเรื่อยๆ ลดลงตามไปด้วย ขณะที่แต่เดิมอัตราการสมทบก็อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว โดยส่วนใหญ่ผู้ที่สมทบคือผู้ที่ทำงานในระบบเท่านั้น

ท่านเห็นความเสี่ยงไหมครับ เปรียบไปก็เหมือนกะละมังน้ำที่มีรูรั่ว น้ำไหลออก 2 ส่วน แต่ไหลเข้าแค่ส่วนเดียว ไม่นานน้ำก็ย่อมหมดถัง ระบบ Social Welfare ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเห็นแบบนี้แล้ว ท่านยังคิดว่าจะรอสวัสดิการจากภาครัฐอย่างเดียวหรือไม่ครับ ส่วนตัวผมถือสุภาษิตที่ว่า “อัตตาหิ อัตโนนาโถ” ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน พึ่งตัวเองก่อนที่คิดจะไปพึ่งพาคนอื่นดีกว่า จริงไหมครับ?

สุดท้ายนี้ผมก็คงขออวยพรให้ทุกท่านเดินทางไปและกลับมาอย่างปลอดภัย เมาไม่ขับ ถ้าเมาขับ อาจหลับข้างทางแบบไม่ตื่นอีกเลยนะครับ ที่สำคัญเที่ยวได้แต่อย่าสุดเหวี่ยงนัก คิดถึงช่วงครึ่งเดือนหลังบ้างก็ดีครับ จะกินอะไร จะต้องจ่ายหนี้อีกเท่าไหร่ ช่วยกันครับ เตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้ เผื่ออยู่ถึงแก่ อย่างน้อยก็ไม่ใช่แก่กระโหลกกะลาให้รุ่นต่อๆไปดูถูกเอาได้